ปัญหาบ้านรกนั้น มีหลากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ มาจากการที่เราเก็บของเอาไว้ในบ้านเยอะจนเกินพอดี และผนวกเข้ากับการเก็บที่ไม่เป็นระเบียบ ทำให้บ้านยิ่งดูรกหนักเข้าไปเสียยิ่งกว่าเก่า จึงกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ทำให้เราไม่รู้ว่าควรจะเริ่มจัดการจากส่วนไหนดี จนในท้ายที่สุดแล้ว เราก็เลือกปล่อยให้ปัญหานี้คงอยู่ต่อไป
มาดูกันดีกว่า จริง ๆ แล้ว ปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้อย่างไร bTaskee ชวนเริ่มลงมือไปด้วยกัน ด้วยเทคนิคแก้ปัญหาบ้านรก ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ล้วนช่วยจัดบ้านให้น่าอยู่มากขึ้นได้อย่างแน่นอน!
รวมเทคนิคการแก้ปัญหาบ้านรก เริ่มอย่างไร
1. จัดเก็บห้องนอน
จุดแรกของบ้านที่มักจะรก คือภายในห้องนอนของเราเป็นหลัก โดยเริ่มสำรวจชุดเครื่องนอน ผ้าปู ปลอกหมอน ปลอกผ้านวม และผ้าห่ม รวมไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนเตียง ว่าหากมีสภาพที่เก่า หรือผ่านการใช้งานจนทำให้สภาพเกินที่จะซ่อมแซมได้ รวมไปถึงไม่สามารถใช้งานให้นอนได้สบายเช่นดังเดิม ก็ให้ตัดใจทิ้งไป โดยเฉพาะกับตุ๊กตาเก่า ๆ ที่เป็นแหล่งสะสมของฝุ่นและไรฝุ่น ส่วนพวกชุดเครื่องนอน ที่ได้มาแล้วไม่ได้ใช้ หรือไม่ตรงกับขนาดฟูกนอนที่ใช้ ก็สามารถนำไปมอบต่อให้คนอื่นได้
2. จัดการตู้เสื้อผ้า
จัดการกับเสื้อผ้าที่ใส่ไม่ได้ หรือไม่ค่อยได้ใส่ทิ้งออกไป ทั้งเสื้อผ้าขนาดที่ใส่ไม่พอดี ไม่ว่าจะเล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไป นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงเสื้อผ้าที่ไม่เคยใส่อย่างน้อย 1 ปี หรือเสื้อที่ไม่ใช่สไตล์เรา ใส่แล้วไม่มั่นใจ หากยังสภาพดีอยู่ พอจะใส่ได้ แนะนำให้นำไปบริจาคตามจุดต่าง ๆ ที่มีรับบริจาคอยู่ได้ เนื่องจากหากเราไม่ได้จัดการเสื้อผ้าเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดฝุ่น รบกวนสุขภาพของเราได้
ส่วนพวกชุดชั้นในที่หมดสภาพ และถุงเท้าที่ไม่มีคู่หรือหมดสภาพไป รวมไปถึงถุงน่องต่าง ๆ เอง ก็ควรจัดการทิ้ง โดยจับใส่ถุงดำแยกไว้กับเสื้อผ้าอื่น ๆ พร้อมเขียนกำกับไว้หน้าถุงเพื่อที่จะได้นำไปทิ้งนั่นเอง
นอกจากนั้น พวกหมวกที่ไม่เคยใส่ รองเท้าที่คับเกินหรือหลวมไป ใส่แล้วเดินไม่สะดวก และกระเป๋าที่มีเก็บไว้หลายใบ ก็ให้เลือกเก็บไว้เฉพาะใบที่ใช้เป็นประจำ ในส่วนที่ไม่ใช้หรือไม่ชอบ ให้แยกไว้สำหรับบริจาค ส่วนชิ้นที่พังเกินกว่าจะซ่อมได้ ก็จัดการทิ้งใส่ถุงดำทิ้งไปได้เลย
3. จัดเก็บห้องนั่งเล่น
สำหรับห้องนั่งเล่น จุดแรกที่ต้องเช็ค คือความรกบนโซฟา อย่างหมอนอิงบนโซฟาไม่จำเป็นต้องมีหลายใบ มีไว้ใช้เท่าที่จำเป็นก็พอ หมอนใบไหนที่เริ่มเก่า มอมแมม ลีบแบน หนุนไม่สะดวก หรือมีรอยขาด ก็ควรจัดการทิ้งไป ส่วนพวกนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์เก่า คู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ ก็ให้นำมาจัดรวมกันแล้วให้เป็นระเบียบ หากไม่ได้ใช้งานแล้ว อาจทำการชั่งกิโลเพื่อขาย
แล้วก็พวกของแต่งบ้านที่หลงฤดูกาล ของฝาก หรือของขวัญที่ไม่ชอบ และดูไม่เข้ากับบ้าน ก็อาจจะทิ้งไปเลยก็ได้ หรือถ้ายังอยู่ในช่วงการตัดสินใจ วิธีแก้ไขเราควรหากล่องพลาสติกใสมาใส่แยกไว้ แล้วติดป้ายหน้ากล่องให้ชัดว่าของชิ้นนั้นคืออะไร แล้วนำไปจัดเก็บให้เป็นระเบียบนั่นเอง
4. จัดเก็บห้องทำงาน
ในห้องทำงานที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่แทบทั้งวัน พวกสายชาร์จต่าง ๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ที่ชำรุด ไม่สามารถใช้งานต่อได้แล้ว หากต้องการจะทิ้ง เราควรแยกถุง ไม่ทิ้งปะปนกับขยะชนิดอื่น และพวกกล่องบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อหมดระยะประกันแล้ว ก็ควรเก็บทิ้งเพื่อไม่ให้กองสุมภายในห้อง
รวมถึงควรจัดการอุปกรณ์เครื่องเขียนที่ใช้งานไม่ได้ เช่น ปากกาหมึกหมด หรือที่เขียนไม่ออก ดินสอที่สั้นจนใช้งานไม่ได้ นามบัตรเก่า หรือแคตตาล็อกสินค้าที่ไม่อัปเดตแล้วออกไป นั่นยังรวมไปถึงสมุดจดเลคเชอร์เก่า บทความ งานเอกสารต่าง ๆ ที่ไม่ใช้แล้ว ก็ให้แยกประเภทออกมา หากยังสามารถทำเป็นกระดาษรียูสเพื่อใช้งานใหม่ได้ ซึ่งการจัดระเบียบของเหล่านี้จะช่วยไม่ทำให้บ้านรกจากของที่ใช้งานไม่ได้อีกทางหนึ่ง
5. จัดทำตารางการจัดบ้าน เก็บบ้านและทำความสะอาดบ้านให้ชัดเจน
จากที่เคยจัดบ้าน และทำความสะอาดบ้านเฉพาะเวลาที่รู้สึกว่าบ้านรกจนทนไม่ได้ ให้ลองเปลี่ยนมาทำตารางจัดบ้าน และทำความสะอาดบ้านที่ชัดเจน โดยให้ระบุว่าวันไหนจะจัดบ้านทำความสะอาดอะไร อาจจะไม่ต้องทำในวันเดียวพร้อมกันทุกอย่าง แต่ให้แบ่งวันทำในแต่ละส่วนไปในหลาย ๆ วันแทน ซึ่งเมื่อทำตารางเสร็จแล้ว ลงมือทำตามตารางที่วางแผนเอาไว้ ก็รับรองได้เลยว่าบ้านรก ๆ จะกลายเป็นบ้านที่สะอาด และมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
6. กำหนดพื้นที่เก็บของให้ชัดเจน
ในปัจจุบัน แม้แต่บ้าน 2 ชั้น หรือทาวน์โฮม มักจะออกแบบห้องอเนกประสงค์ หรือห้องเก็บของมาให้ โดยจะมีความกว้างภายในห้องประมาณหนึ่ง โดยเราสามารถเก็บเอกสารที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้ หรือข้าวของที่คิดว่ายังไม่ต้องการทิ้งเอาไว้ในห้องนั้นได้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาบ้านรกไปด้วยในตัว
ทำให้เมื่อไหร่ที่ต้องการใช้งาน ก็สามารถเข้าไปค้นหาได้ง่าย และไม่ทำให้บ้านรกอีกด้วย เพียงแค่จัดพื้นที่บ้านให้เป็นสัดส่วนเท่านั้นเอง และวางแผนในการจัดเก็บให้ดีนั่นเอง แต่ก็อย่าลืมที่จะใส่กำหนดการทำความสะอาดห้องเก็บของลงในตารางจัดบ้านด้วยนะ
7. เตรียมพื้นที่แขวนอุปกรณ์ทำครัวให้มากที่สุด
แทนที่จะวางช้อน ตะหลิว หรืออุปกรณ์ในการทำครัวต่าง ๆ ให้ระเกะระกะจนบ้านรก ให้ทำการติดตั้งแผงสำหรับแขวนอุปกรณ์ทำครัวไว้ข้างผนัง ทำให้เมื่อใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถห้อยเก็บได้อย่างง่ายดาย ทั้งสะดวกต่อการหยิบมาใช้งาน และไม่ทำให้บ้านดูรกอีกด้วย
8. เพิ่มชั้นวางของในห้องน้ำหลาย ๆ จุด
การเพิ่มชั้นวางของทำให้บ้านรกน้อยกว่าการวางของระเกะระกะไปทั่ว โดยเฉพาะในห้องน้ำ ที่หากขวดแชมพู หรือสบู่หล่นอยู่บนพื้น ก็อาจจะทำให้ลื่น และเป็นอันตรายได้ ซึ่งการเพิ่มชั้นวางของเข้าไปก็จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัย และจะช่วยให้ห้องน้ำดูเป็นระเบียบ และสะดวกต่อการหยิบใช้งานนั่นเอง
สรุป
เพราะความจริงแล้ว ปัญหาบ้านรกสามารถแก้ไขด้วยการลงมือทำ โดยการจัดระเบียบสิ่งของต่าง ๆ ที่เรามีให้เข้าที่เข้าทาง ไม่ระเกะระกะ มีที่อยู่ที่แน่นอนให้กับมัน รวมไปถึงจัดการนำสิ่งที่ไม่ใช่ทั้งหลายแหล่ออกไปจากบ้านของเรา ทั้งนี้ก็จะทำให้ปัญหาบ้านรกที่เกิดขึ้นจากของที่เรามีเยอะจนเกินพอดีนั้นหมดลง ทำให้บ้านของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้นกว่าเก่า และลดปัญหาความไม่สะอาดลงไปได้อีกด้วย
โดยหากคุณไม่มีเวลาในการทำความสะอาด bTaskee เราสามารถหาแม่บ้านมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาบ้านรก หรือการทำความสะอาดห้องต่าง ๆ ในบ้าน ให้น่าอยู่ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ที่ App Store หรือ Google Play แล้วเริ่มใช้งานได้เลย ด้วยการกดเลือกบริการ “ทำความสะอาดบ้าน (Cleaning)” จากนั้นกรอกรายละเอียดขนาดห้อง ที่อยู่ และข้อมูลอื่น ๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้แม่บ้านรับงานได้อย่างรวดเร็วและทำงานง่ายยิ่งขึ้น ใช้เวลาเพียง 1 นาทีเท่านั้น