การทำความสะอาดด้วยตัวคนเดียวนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก และใช้แรงรวมไปถึงเวลาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการทำความสะอาดใหญ่ ๆ แบบบิ๊กคลีนนิ่ง หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Deep Cleaning ให้กับบ้านของเราด้วยแล้ว ก็เรียกได้ว่ายิ่งยากขึ้นเป็นทวีคูณ ในบทความนี้ bTaskee จึงได้รวบรวมเทคนิคการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning มาแนะนำให้กับเหล่าพ่อบ้านแม่บ้าน เพื่อที่จะได้ทำความสะอาดได้อย่างหมดจด และช่วยทำให้บ้านของเรานั้นน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
รวมเทคนิคทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning บ้านให้สะอาดหมดจด น่าอยู่ขึ้นทันตาเห็น
- สวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้ง เมื่อทำความสะอาด เช่น ถุงมือ, ผ้ากันเปื้อน, หน้ากากปิดบังใบหน้า และล้างมือทุกครั้งหลังถอดถุงมือเมื่อเสร็จจากงาน
- เปิดประตู หน้าต่าง หรือเครื่องดูดอากาศ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศภายในห้องก่อนเข้าไปทำความสะอาด
- ล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนและหลังทำความสะอาดห้องด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์
- ทำความสะอาดแบบทั่วไปโดยใช้น้ำยาเช็ดถู หรือสบู่เพื่อเช็ดสิ่งสกปรกออก ก่อนทำความสะอาดแบบล้ำลึกด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อตามอีกรอบหนึ่ง
- ระมัดระวังขั้นสูงสุด เพื่อไม่ให้เผลอสัมผัสใบหน้าตนเอง ขณะทำความสะอาด
- เน้นทำความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู, สวิตช์ไฟ, รีโมตทีวี, หัวก๊อกน้ำ และกุญแจ เป็นต้น
- เฟอร์นิเจอร์จำพวกโซฟา, พรม และผ้าม่าน ที่มีพื้นผิวเฉพาะ ให้ทำความสะอาดตามคำแนะนำเฉพาะที่แตกต่างกันไปในเฟอร์นิเจอร์แต่ละชนิด
- ทำความสะอาดผ้าประเภทลินินด้วยอุณหภูมิสูงสุด เท่าที่ทางโรงงานผลิตอนุญาตให้ใช้ได้ รวมถึงผ้าปูที่นอน, ผ้าเช็ดมือ, ผ้าขนหนู และผ้าเช็ดทำความสะอาดทั่วไป รวมถึงต้องใส่ถุงมือทุกครั้งหากเป็นการซักมือ
- เลือกผ้าบุตะกร้าสำหรับใส่ผ้าก่อนซัก แบบที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หรือสามารถทำความสะอาดในเครื่องซักผ้าได้
- ทำความสะอาดเครื่องดูดฝุ่นทุกครั้งหลังใช้งาน และเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องซักผ้า หรือเครื่องล้างจาน เป็นต้น
- ตรวจสอบวันหมดอายุเมื่อซื้อของเข้าบ้านทุกครั้ง และเก็บแยกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีแก๊สให้ห่างจากอุปกรณ์อื่น
- ใส่ถุงขยะครอบด้านในถังขยะทุกครั้งก่อนทิ้งสิ่งสกปรกลงไป จะช่วยให้ง่ายต่อการทำความสะอาด และลดการสะสมของเชื้อโรค
ทริคสำหรับการทำความสะอาดอย่างเร่งด่วน สำหรับคนที่ไม่มีเวลา
1. ทำความสะอาดบ้านอย่างเป็นระบบ
การที่เราจะทำความสะอาดได้อย่างรวดเร็ว และใช้เวลาน้อยลงถึงครึ่งหนึ่งนั้น เราจำเป็นจะต้องมีการวางแผน และจัดการเรื่องการทำความสะอาดให้เป็นระบบ โดยต้องทราบก่อนว่าควรทำความสะอาดอย่างไร และจุดไหน ตามลำดับความสำคัญนั่นเอง
2. ป้องกันความสกปรกตั้งแต่ตอนแรก
เราไม่จำเป็นต้องปล่อยให้บ้านสกปรกก่อนที่จะทำความสะอาด เพราะเราสามารถป้องกันความสกปรกนั้นก่อนได้ตั้งแต่แรก ด้วยเทคนิคการทำความสะอาดง่าย ๆ อย่างการไม่ทำให้สกปรกนั่นเอง ด้วยการหยุดปัญหาความสกปรกก่อนที่มันจะสร้างให้พื้นที่ หรือห้อง ๆ นั้นสกปรกมากกว่าเดิม เช่น ก่อนจะทำอะไรที่อาจจะเลอะเทอะ มีฝุ่นเยอะ หรือรับประทานอะไรก็ตาม ลองหาอะไรมารองก่อนก็ได้เพื่อป้องกันการเลอะ เพื่อรักษาความสะอาด และยังเป็นการฝึกวินัยไปในตัวอีกด้วย
3. จัดเตียง 3 นาทีตอนเช้า
แทนที่จะทิ้งเตียงรก ๆ ไว้ในตอนเช้า ปล่อยให้ผ้าห่ม และผ้านวมยุ่งเหยิงเอาไว้แบบนั้น ลองหันมาจัดเรียงหมอนแบบง่าย ๆ ดึงผ้าปูให้ตึง ๆ ก่อนสะบัดผ้าห่มคลุม รับรองว่าใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที แต่มีส่วนช่วยให้ภาพรวมของบ้านดูเรียบร้อยขึ้นทันตา
4. ทำความสะอาดห้องน้ำเฉพาะจุด
ถ้ามีแขกจะมาบ้านอย่างกะทันหัน เราควรให้ความสำคัญกับห้องน้ำเป็นอันดับหนึ่ง โดยให้เช็ดเฉพาะจุดที่เห็นว่าสกปรกชัดเจน รวมถึงคราบน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่สังเกตได้ง่าย จะช่วยให้ห้องน้ำสะอาดเหมือนมีแม่บ้านอยู่ประจำบ้านที่คอยทำความสะอาดบ้านให้อยู่เป็นประจำเลยทีเดียว
5. จัดทำความสะอาดลิ้นชักเฉพาะที่ใช้
อย่าปล่อยให้ลิ้นชักใส่ของต่าง ๆ รกจนหาของอะไรไม่เจอ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเวลาในการหา ดังนั้น หากงานรัดตัวจนไม่มีเวลาจัดระเบียบลิ้นชักทั้งบ้าน ก็ให้จัดระเบียบลิ้นชักที่ต้องใช้งานเป็นประจำก่อน พอมีเวลาในช่วงวันหยุดแล้ว จึงค่อยมาจัดการกับลิ้นชักที่เหลืออีกทีหนึ่ง
6. กำจัดสิ่งของที่อยู่ผิดที่ผิดทาง
แต่ละจุดในบ้าน มักจะมีของที่วางไม่ถูกที่อยู่เสมอ เช่น ครัวรก ๆ ก็ไม่ควรที่จะมีบิลค่าไฟ, ค่าน้ำ หรือมีปลั๊กไฟที่ใช้แล้วไม่เก็บสายให้เป็นระเบียบ รวมไปถึงถุงขนม และอาหารต่าง ๆ ที่ควรทิ้ง แต่ก็ยังไม่มีใครหยิบไปทิ้งสักที ดังนั้น เราควรนำของที่ไม่ควรตั้งไว้ในครัวออกไป เช่น บิลต่าง ๆ และหากเป็นไปได้ก็ให้กำจัดของที่ไม่ได้ใช้ ใช้เวลาเพียงไม่นาน ก็ช่วยให้ภาพรวมของบ้านทุกห้องให้สะอาดขึ้น มีระเบียบอย่างคาดไม่ถึง
7. เช็ดทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์แบบเร็ว ๆ
ทั้งเฟอร์นิเจอร์ในห้องนอนและห้องทำงาน รับรองว่าแค่ไม่กี่นาทีต่อวัน จะช่วยลดเวลาทำความสะอาดตอนสุดสัปดาห์ได้เป็นชั่วโมงเลยทีเดียว
ความแตกต่างระหว่างการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning และ General Cleaning
การทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning
- เป็นการทำความสะอาดประจำเดือน, ประจำ 2 ถึง 3 เดือน, ประจำครึ่งปี หรือประจำปี
- เหมาะกับสถานที่ ๆ ไม่ได้อยู่นาน หรือเป็นการทำความสะอาดหลังรีโนเวทอาคารเสร็จ
- เหมาะกับบ้านหรือสถานที่ที่เตรียมย้ายเข้าอยู่ หรือย้ายออก
การทำความสะอาดแบบ General Cleaning
- เป็นการทำความสะอาดแบบทั่ว ๆ ไป เช่น การปัดกวาด, เช็ดถู, ดูดฝุ่น หรือล้างห้องน้ำ
- ทำอยู่เป็นประจำ 1 ถึง 2 ครั้งต่อสัปดาห์
- เหมาะกับคนที่มีเวลาน้อย และพื้นที่ดังกล่าวนั้นถูกใช้งานอยู่เสมอ
สรุป
ถึงแม้การทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning จะเป็นงานที่หนัก และใช้เวลาพอสมควรในการจัดการทำความสะอาดบ้านของเราให้สะอาดหมดจด และทำให้บรรยากาศน่าอยู่มากยิ่งขึ้น แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากบ้านเป็นสถานที่ที่เราต้องอาศัยอยู่ในทุก ๆ วัน การทำความสะอาดแบบนี้ นอกจากจะช่วยทำให้บ้านน่าอยู่แล้ว สุขอนามัยภายในบ้านก็จะดียิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งเราเองก็หวังว่า เทคนิคการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning ที่เรารวบรวมมาไว้ในบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อคุณพ่อบ้านคุณแม่บ้านทุก ๆ คน
แต่หากใครที่ไม่มีเวลา แล้วต้องการทำความสะอาดใหญ่ การหาแม่บ้านที่เชื่อถือได้มาจัดการให้ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น บริการบริษัททำความสะอาดแม่บ้านรายวันของ bTaskee นั้น นอกจากบริการทำความสะอาดแบบปกติด้วยอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ได้มาตรฐานแล้ว ก็ยังมีบริการพิเศษอย่าง Big Cleaning ที่เป็นการดูแลขนานใหญ่ให้กับบ้านของเรา ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดห้องน้ำ และส่วนอื่น ๆ ของตัวบ้านอย่างหมดจด หากใครสนใจ สามารถติดต่อมาได้ที่แอปพลิเคชันของ bTaskee เพื่อจองแม่บ้านได้เลย