ตั้งแต่เกิดวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายทุกมุมโลกต่างหาทางป้องกันและเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ตัวเองกันแทบทุกแขนง ทั้งหมั่นทำความสะอาดบ้าน ฆ่าเชื้อโรค ออกกำลังกาย กินวิตามิน หรือแม้กระทั่งหาสมุนไพรมาต้มกิน โดยเฉพาะ กระชายขาว (Finger root) สมุนไพรพื้นบ้านไทยที่โดยทั่วไปแล้วเรามักจะนำมาทำอาหาร เช่น แกงป่า แกงเผ็ด แต่ทุกวันนี้หลังจากมีข่าวว่ากระชายมีฤทธิ์ต้านไวรัสโควิด-19 ได้ดีในหลอดเพาะเชื้อ ผู้คนจึงหันมาในความสนใจและบริโภคมากขึ้น (ปัจจุบันยังไม่มีการรับรองว่ากระชายสามารถรักษาอาการโควิดได้) bTaskee จึงขอรวบรวมข้อมูลสรุปสรรพคุณให้ทุกคนไปพิจารณากันค่ะ
ลักษณะของ กระชายขาว
จากข้อมูลของ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ ได้ระบุลักษณะพื้นฐานของกระชายไว้ว่า มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ มีรากอวบ เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกเป็นกระจุก ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มักพบขึ้นในป่าดิบร้อนชื้น อีกทั้งเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติทางยา จนทางการแพทย์แผนไทยได้ขนานนามของกระชายว่า ‘โสมไทย’
สรรพคุณและประโยชน์ของ กระชายขาว
- ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
- ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิตสูง แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้เหง้าหรือรากแก่ ๆ นำมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วนำไปตากแห้งและนำมาชงกับน้ำดื่ม
- กระชายเหลืองมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
- ช่วยบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ บำบัดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED)
- กระชายมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายกับการรับประทานยาแอสไพรินและอาจจะช่วยป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายได้
- น้ำกระชายช่วยทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น ช่วยทำให้เหนื่อยลง
- รากกระชายสามารถช่วยไล่แมลงได้ ด้วยการนำตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบสะเดาแก่ นำมาตำผสมกันแล้วใช้ผสมกับน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน
ข้อควรระวังในการรับประทาน
ข้อมูลจากวารสารหมอชาวบ้านแจ้งว่า เราไม่ควรบริโภคกระชายต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน อาจส่งผลให้เกิดอาการร้อนในหรือเป็นแผลในปากตามมา จากการศึกษาพบว่า การบริโภคกระชายมากๆ มีผลทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่นและเกิดภาวะใจสั่นได้ และไม่ควรใช้ในผู้ที่มีความผิดปกติของตับและไต หญิงตั้งครรภ์